วิธีการเปรียบเทียบข้อมูล (Comparison)

20:52

ฮูเล ๆ อย่างนี้ก็แสดงว่า ไม่เคยจ่ายค่าเช่าบ้านเกินไปจริง ๆ ใช่มั๊ย :D

ก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจไปซะเลยนะคะ เพราะบางที การไม่พบข้อมูลที่ค้นหา
อาจเป็นเพราะ คุณกำหนดเงื่อนไข (Criteria) ไม่ถูกต้องก็ได้
ดังนั้น ขอให้มั่นใจด้วยว่า คุณกำหนดเงื่อนไขถูกต้องแล้ว ผลลัพธ์จึงจะเชื่อถือได้ค่ะ

หรือบางที… อาจเป็นเพราะ คุณป้อนข้อมูลลงในฐานข้อมูล ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก
เช่น ตั้งใจจะพิมพ์คำว่า กรองทอง แต่คุณดันพิมพ์เป็น กรงทอง
อย่างนี้ หากคุณค้นหาคำว่า “กรองทอง” ก็ต้องไม่เจอข้อมูลแน่นอนค่ะ

+ + + + + + + + + +

ก่อนจะจบเอ็นทรี่นี้ไป ขอฝากทิ้งท้ายไว้อีกนิดว่า
วิธีการเปรียบเทียบข้อมูล (Comparison)
นอกจากจะเปรียบเทียบข้อมูลที่มีค่า เท่ากับ เงื่อนไขที่ระบุแล้ว
คุณยังสามารถเปรียบเทียบข้อมูล ด้วยเครื่องหมายอื่น ๆ ได้อีก ดังนี้

เครื่องหมาย ความหมาย ตัวอย่าง
= เท่ากับ = “abc” เท่ากับคำว่า abc
= 5000 เท่ากับ 5,000
= #14/3/2007# เท่ากับ วันที่ 14 มี.ค. 2007
<> ไม่เท่ากับ <> “abc” ไม่เท่ากับคำว่า abc
<> 5000 ไม่เท่ากับ 5,000
<> #14/3/2007# ไม่เท่ากับ วันที่ 14 มี.ค. 2007
> มากกว่า > 5000 มากกว่า 5,000
> #14/3/2007# มากกว่า วันที่ 14 มี.ค. 2007
< น้อยกว่า < 5000 น้อยกว่า 5,000
< Date( ) น้อยกว่า วันที่ปัจจุบัน(วันนี้)
>= มากกว่า
หรือเท่ากับ >= 5000 มากกว่าหรือเท่ากับ 5,000
>= #14/3/2007#
มากกว่าหรือเท่ากับ วันที่ 14 มี.ค. 2007
<= น้อยกว่า
หรือเท่ากับ <= 5000 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000
<= #14/3/2007#
น้อยกว่าหรือเท่ากับ วันที่ 14 มี.ค. 2007
between…and… ระหว่าง…ถึง… between 1000 and 5000 ระหว่าง 1,000 ถึง 5,000
between #1/3/2007# and #31/3/2007#
ระหว่างวันที่ 1 มี.ค. 2007 ถึงวันที่ 31 มี.ค. 2007
like คล้ายกัน like “abc*” ค้นหาข้อความ ที่ขึ้นต้นด้วย abc
like “*abc” ค้นหาข้อความ ที่ลงท้ายด้วย abc
like “*abc*” ค้นหาข้อความ ที่ประกอบด้วย abc


เอาหล่ะ มาถึงตอนท้ายแล้ว
หากคุณอยากเห็นตัวอย่าง วิธีการใช้งานเครื่องหมายต่าง ๆ ข้างบนนั่น
ก็ขอให้ติดตามอ่านต่อไปเรื่อย ๆ รับรองว่า ได้มีมาให้ดูกันแน่นอนค่ะ

ท้ายสุด ขอให้ใช้เวลาพักผ่อน กับวันหยุดสุดสัปดาห์
และวันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค. ที่กำลังจะมาถึง กันให้เต็มที่นะคะ

0 ความคิดเห็น: